วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ข้อสอบเพิ่มเติม

เรื่อง ขอให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมทุกคน

จากที่เธอได้เรียนวิชาการจัดการชั้นเรียนโดยใช้WeblogหรือฺBlog ผู้เรียนเห็นว่าการใช้งานนี้มีจุดเด่นจุดด้อยอย่างไร
ให้แสดงความคิดเห็นได้เต็มที่ เพื่อจะนำไปพัฒนาใช้ในโอกาสต่อไป แสดงความคิดเห็นให้ก่อนสอบจะเป็นคะแนนช่วยเพิ่มเติ่ม

จุดเด่นของWeblogหรือฺBlog

1.สามารถใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
2.ทำให้การเรียนการสอนน่าสนใจและ มีความทันสมัย
3.Webblogเป็นการนำข้อมูลที่เราสนใจเก็บไว้ใน Blogของตัวเองแล้วสามารถเก็บไว้ใช้ในอนาคตได้
4.นำความรู้ที่ได้เก็บไว้ในWebblogมาใช้ในการสอนต่อไปและเหมาะสำหรับครูพันธุ์ใหม่
5.เป็นการสร้างสื่อการสอนที่ดีและรวดเร็ว
6.สามารถเผยแพร่ความรู้ผ่านทางWebblogได้อีกช่องทางหนึ่ง
7. ช่วยลดค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการเรียนได้ส่วนหนึ่ง
8.ช่วยแสดงผลงานให้ผู้อื่นได้เข้ามาติชม


จุดด้อยของWebblogหรือBlog

1.การใช้ webblog ในการเรียนรายวิชานี้ไม่ค่อยสอดคล้องกับเนื้อหาของรายวิชาที่เรียนควรสอนให้สอดคล้องกับวิชาที่เรียนให้มากกว่านี้
2.การส่งงานหรือการตกแต่ง Weblog ต้องใช้สัญญาณอินเตอร์เน็ตแต่ที่หอไม่ค่อยมีสัญญาณWirelessจึงไม่สะดวกในการทำงานและการส่งงานตามที่อาจารย์สั่ง
3. นักศึกษาที่ไม่มีคอมพิวเตอร์มีความลำบากในการเรียนและอาจเกิดการเบื่อหน่ายในการเรียนได้


สุดท้ายนี้ก็ขอให้อาจารย์มีความสุข สุขภาพร่างกายแข็งแรงทั้งกายและใจ และขอขอบคุณอาจารย์ที่ช่วยสอนWebblogเพื่อที่จะได้นำไปใช้ในการเรียนการสอนในครั้งต่อๆไป ขอขอบพระคุณมากค่ะ

วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

สอบปลายภาค

ให้นักเรียนตอบข้อสอบลงในWeblog ของนักเรียนแต่ละคน

คำสั่ง ให้นักเรียนทำข้อสอบโดยการแสดงความคิดเห็นสะท้อนข้อคิดพร้อมยกตัวอย่างประกอบในการแสดงความคิดเห็นให้เป็นเหตุเป็นผลของผู้เรียน อาจารย์จะอ่านข้อคิดเห็นที่เป็นเหตุเป็นผลต่อกัน เขียนในWeblog ให้ชวนอ่าน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
ข้อที่ 1 กรณีที่เกิดความวุ่นวายของบ้านเมืองโดยเฉพาะผู้นำประเทศที่ผ่านมา ท่านในฐานะเป็นครูพันธ์ใหม่ ท่านจะแสดงความคิดเห็น อดีตนายกทักษิณ ทั้งข้อดีและข้อเสียของท่าน หากพิจารณาข้อดีและข้อเสียท่านจะนำมาสอนให้ผู้เรียนเกิดความคิดที่จะเป็นผู้นำที่ดีได้อย่างไร
ข้อดี : ในสมัยแรก ดำเนินนโยบายต่างๆ เช่น การพักชำระหนี้เกษตรกร, โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค, โครงการบ้านเอื้ออาทร เป็นต้น โดยหน่วยงานที่รับผิดชอบ ได้ออกโฆษณาโครงการต่างๆ ที่ได้มอบหมายให้ไปดำเนินการตามนโยบาย ผ่านสื่อของรัฐบาล อย่างไรก็ตาม พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ก็ยังได้รับความนิยมจากกลุ่มเกษตรกร และประชาชนในชนบททั่วไปอย่างมาก ในการทำงานทางการเมือง พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ได้รับความชื่นชมจากประชาชนกลุ่มหนึ่งว่า ทำให้ประเทศไทยสามารถชดใช้หนี้กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หลังจากบริหารประเทศในเวลาไม่นาน และมีโครงการประชานิยมต่างๆ ซึ่งส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของประเทศ
ข้อเสีย :พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ มักถูกฝ่ายต่อต้านวิพากษ์วิจารณ์ว่า มักใช้อำนาจสนับสนุนหรือเอื้อประโยชน์ให้เครือญาติและบุคคลใกล้ชิด เช่น การสนับสนุนให้ได้รับตำแหน่งสำคัญ อย่างการผลักดันให้ พล.อ.ชัยสิทธิ์ ชินวัตร ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก ให้ได้รับตำแหน่งสำคัญอย่าง ผู้บัญชาการทหารบก และ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ในเวลาต่อมา รวมถึง พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ซึ่งเป็นพี่ชายของคุณหญิงพจมาน รวมถึงการใช้อำนาจต่างๆ เพื่อเอื้อประโยชน์ให้กลุ่มชินคอร์ป เช่น ลดค่าภาษีสัมปทานโทรคมนาคม ให้กับบริษัทเอไอเอส ลดค่าสัมปทานเช่าคลื่นความถี่ ให้กับบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) เป็นต้น แต่ยังไม่ได้มีการพิสูจน์หลักฐานต่อสาธารณะชน ซึ่งมักจะเป็นข้ออ้างของฝ่ายตรงข้าม ยังมีโครงการ แท็กซี่เอื้ออาทร โดยคิดค่าเช่ารถในราคาประหยัด เพื่อสร้างอาชีพให้ผู้มีรายได้น้อย แต่มีผู้วิพากษ์วิจารณ์ว่า มีการลักลอบเปิดโอกาสให้ทำธุรกิจเช่าแท็กซี่ได้อย่างเสรี เพื่อเอื้อประโยชน์ให้เครือญาติของ
พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ที่ดำเนินธุรกิจให้เช่าแท๊กซี่ในกรุงเทพมหานคร เป็นผลให้เกิดปริมาณรถแท๊กซี่บนท้องถนนมากเกินความจำเป็น
จากการพิจารณาข้อดีและข้อเสียของนายกทักษิณ ควรสอนนักเรียนให้รู้ว่าการเป็นผู้นำต้องเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม อย่าเห็นแก่ผลประโยชน์ของตัวเองและเครือญาติ ควรใช้อำนาจที่มีอยู่ในมือของตนเองให้เกิดประโยชน์แก่ส่วนรวมให้มากที่สุด และบอกแก่นักเรียนว่าคนเราต้องมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ดังนั้นหากคิดที่จะทำอะไรควรคิดให้รอบคอบ เพื่อที่จะได้ไม่เสียใจภายหลัง

ข้อที่ 2 การจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนที่จะให้มีประสิทธิภาพท่านจะมีวิธีคิดอย่างไรหากท่านเป็นครูที่ดีควรเตรียมการเป็นที่ครูที่ดีอย่างไรให้ท่านแสดงความคิดเห็นของท่านเอง

การเตรียมตัวเพื่อการบริหารจัดการชั้นเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
      มีงานวิจัยจำนวนมากที่ศึกษาองค์ประกอบสำคัญที่จะช่วยให้การบริหารจัดการชั้นเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ อาทิ Kounin, J. S. (1970), Doyle and Carter(1984), Gump (1967, 1982), Rosenshine (1980), Doyle (1986), William Glasser(1986) เป็นต้น โดยสรุป การเตรียมการเพื่อการบริหารการจัดการชั้นเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ มีองค์ประกอบดังต่อไปนี้
1 ครูที่สามารถบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะสร้างข้อกำหนดที่ชัดเจนและมีขั้นตอนการปฏิบัติที่จะนำไปสู่พฤติกรรมที่ชัดเจน และจัดกิจกรรมในห้องเรียนให้ประสานสอดคล้องด้วยความระมัดระวังในระหว่างที่เกิดการเปลี่ยนแปลงคาบสอน ในตอนเริ่มต้นและสิ้นสุดการสอน
2 ครูที่สามารถบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพจะพัฒนาระบบในการยึดเหนี่ยวนักเรียนให้รับผิดชอบการเรียนและพฤติกรรมในห้องเรียน
3 นอกเหนือจากการจะต้องมีทักษะในการวางแผนและการดำเนินการให้เกิดความสอดคล้อง ครูก็ยังคงต้องเผชิญกับความยุ่งยากลำบากหรือนักเรียนที่ไม่ตั้งใจเรียนที่มักจะก่อกวนมากกว่าจะร่วมมือในกิจกรรมการเรียนรู้อีกด้วย
4 ครูที่สามารถบริหารจัดการให้อย่างมีประสิทธิภาพจะต้องมีทักษะในการเข้าไปสอดแทรกแก้ปัญหาโดยทันท่วงทีกับนักเรียนที่สร้างปัญหาและต้องดำเนินการด้วยความยุติธรรมด้วย
5 ครูที่สามารถบริหารจัดการได้ยอมรับในความสำคัญของอิทธิพลระหว่างบุคคล
6 ครูสามารถจะกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมที่คาดหวังได้ด้วยการยกย่องชมเชย การให้รางวัลและการลงโทษ
7 วิธีการบริหารจัดการชั้นเรียน เป็นต้นว่า การยืนยันความถูกต้องเกี่ยวกับความประพฤติ ความคาดหวัง เมื่อครูวางแผนกำหนดเวลาในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ หรือพิจารณาว่าจะใช้พื้นที่ในห้องเรียนทำประโยชน์อะไรได้บ้าง ก็คือ ครูกำลังตัดสินใจครั้งสำคัญในการพิจารณาว่าจะทำให้เกิดผลต่อระบบบริหารจัดการชั้นเรียน ในทำนองเดียวกันทุกกลยุทธ์ที่จะสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ที่สร้างผลผลิต เช่น การช่วยให้ชั้นเรียนพัฒนาการทำงานเป็นกลุ่ม สร้างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และทำให้เกิดความซื่อสัตย์ จริงใจ เปิดเผย ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นองค์ประกอบสำคัญในการบริหารจัดการชั้นเรียน

 
ข้อที่ 3 ในฐานะท่านเป็นครูพันธ์ใหม่ ท่านจะนำนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนมาใช้การเรียนการสอนแบบใหม่ได้อย่างไร
คำว่า"นวัตกรรมทางการศึกษา”"หมายถึงสิ่งประดิษฐ์หรือวิธีการใหม่ ๆ หรือปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสม โดยมีการทดลองหรือพัฒนาจนเป็นที่น่าเชื่อถือได้ว่าจะมีผลดีในทางปฏิบัติสามารถนำไปใช้ในระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ และถ้าส่งผลงานในลักษณะนี้ต้องมีเอกสารประกอบด้วย
ดังนั้นหากเราจะเอานวัตกรรมการศึกษาไปใช้ซึ่งปัจจุบันมีมากมายที่ช่วยในการส่งเสิรมการเรียนรู้ของเด็กโดยที่ครูไม่จำเป็นต้องสอนในห้องเรียนเพียงอย่างเดียว ขณะนี้มีโปรแกรมมากมายที่ออกมาช่วยในการเรียนการสอน เช่น E-BOOK , GSP , AUTOWEARE , WEB BLOG หรืออื่นๆอีกมากมาย ซึ่งสิ่งเหล่านี้เราสามารถนำมาให้เด็กใด้ใช้ ทำให้เขาเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยที่ครูจะคอยให้คำแนะนำ คำปรึกษาอยู่ข้างๆ

ข้อที่ 4 การประกันคุณภาพมีความสำคัญต่อการบริหารจัดการในชั้นเรียนได้อย่างไร
เนื่องจาก พรบ. การศึกษา หมวด 6 มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา กำหนดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับ ประกอบด้วย ระบบการประกันคุณภาพภายใน และระบบการประกันคุณภาพภายนอก หน่วยงานต้นสังกัด และสถานศึกษา จัดให้มีระบบการประกับคุณภาพภายใน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการบริหาร และจัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเปิดเผยต่อสาธารณชน ให้มีการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษาทุกแห่งอย่างน้อยหนึ่งครั้งทุกห้าปี โดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา ซึ่งเป็นองค์การมหาชนทำหน้าที่พัฒนาเกณฑ์วิธีการประเมินและจัดให้มีการประเมินดังกล่าว รวมทั้งเสนอผลการประเมินต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน ในกรณีที่ผลการประเมินภายนอกไม่ได้มาตรฐานให้สำนักงานรับรองมาตรฐานฯ จัดทำข้อเสนอแนะต่อหน่วยงานต้นสังกัด ให้สถานศึกษาปรับปรุง ภายในระยะเวลาที่กำหนด หากมิได้ดำเนินการ ให้สำนักงานรับรองมาตรฐานฯ รายงานต่อคณะกรรมการต้นสังกัด เพื่อให้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขต่อไป

ข้อที่ 5 ให้ผู้เรียนประเมินผู้สอนทั้งข้อดีข้อเสียและข้อเสนอแนะเพื่อที่จะนำไปปรับปรุงการเรียนการสอนต่อไป
ในการเรียนการสอนรายวิชาการบริหารจัดการในชั้นเรียน ดิฉันคิดว่า
ข้อดี คือ 1เนื่องจากการเรียนรู้ผ่านเว็บบล็อค ทำให้
                1.1 นักศึกษาได้กระบวนการเรียนรู้แบบใหม่
                1.2นักศึกษาสามารถใช้เทคโนโลยีได้อย่างทันสมัย
                1.3นักศีกษาสามารถนำความรู้ของตนที่มีเผยแพร่ได้ทาง web blog อีกช่องทางหนึ่ง
                1.4นักศึกษาได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
                1.5นักศึกษาเกิดการเรียนรู้ที่ที่ใหม่
                1.6อาจารย์ให้คำแนะนำเอนักศึกษามีปัญหาในการใช้
              2.อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตรงต่อเวลา เอาใจใส่ผู้เรียนอย่างทั่วถึง

ข้อเสีย คือ 1.นักศึกษาที่ไม่มี Note book เกิดการเรียนรู้ที่ช้าและเกิดการเบื่อหน่ายในการเรียน
                   2.ในคาบเรียนมีนักศึกษาบางคนไม่ได้ทำงานตามที่อาจารย์สั่ง แต่กลับไปเล่นอย่างอื่น
                 3. อาจารย์ให้นักเรียนพาคอมพิวเตอร์มาทุกคาบที่สอน
ข้อเสนอแนะ
                   1.อยากให้อาจารย์สอนเนื้อหาให้แน่นกว่านี้
                   2.ไม่ควรให้เอาคอมพิวเตอร์มาทุกคาบควรให้นักศึกษาหาเวลาว่างทำเองบ้าง
                   3.อยากให้อาจารย์พาไปเรียนห้องที่มีคอมพิวเตอร์
                   4. ควรให้นักศึกษาออกไปดูปัญหาที่เกิดในห้องเรียนในสภาพจริง
                   สุดท้ายนี้หนูขอขอบพระคุณอาจารย์ที่ได้สอนประสบการณ์ใหม่ๆให้กับหนู ขอบพระคุณมากค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ใบงานครั้งที่ 10

บุคคลที่คุณคิดว่าเป็นผู้นำในทัศนคติของคุณ

ชื่อ วนิษา เรซ หรือ หนูดี
วันเกิด 28 ธันวาคม 2523
ประวัติการศึกษา
ปริญญาโท เกรียตินิยมจาก Harvard University, Boston, U.S.A ด้านวิทยาการทางสมอง หรือ Neuroscience ในโปรแกรมชื่อ Mind, Brain and Educationระหว่างการศึกษามีอาจารย์ที่ปรึกษา คือ Professor Dr.Howard Gardner ผู้ก่อตั้งทฤษฎีอัจฉริยภาพหลายประการ
ปริญญาตรี เกียรตินิยมด้านครอบครัวศึกษา Family Studies มหาวิทยาลัยแมรี่แลนด์ คอลเลจพาร์ค สหรัฐอเมริกา
ประสบการณ์การทำงาน ในระหว่างปี 2546-2547 ดได้ทำธุรกิจส่วนตัว โดยเป็นนักธุรกิจอิสระของบริษัท ยูนิลีเวอร์ เน็ทเวิร์ค ตำแหน่งผู้จัดการ รับผิดชอบงานในการดูแลพัฒนาทีมงาน รวมทั้งให้คำปรึกษาสมาชิกในทีมงานให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทำหน้าที่ส่งเสริมการขายให้กับทางบริษัท (ประสบการณ์ด้านการโฆษณาประชาสัมพันธ์และบริหารทีมงานประมาณ 1 ปี)ในระหว่างปี 2546-2548 ช่วงเวลาว่างระหว่างเรียน เป็นอาจารย์ติวเตอร์ที่สถาบันติวเตอร์เก่งเรียนดอนเมือง ซึ่งรับสอนคณิตศาสตร์ในระดับประถมศึกษา และรับสอนคณิตศาสตร์ตามบ้าน รวมทั้งยังเคยเป็นพนักงานแจกใบปลิวพนักงานสัมภาษณ์เก็บข้อมูลสินค้าทั่วไป ผลิตภัณฑ์ความงาม เก็บข้อมูลเพื่อใช้ในการศึกษาและงานวิจัยปี 2549 ได้ไปฝึกงานในตำแหน่งเลขานุการ บริษัท อยุธยา อลิอันซ์ ซีพี จำกัด (มหาชน) รับผิดชอบงานในส่วนของการจัดระบบงานประกันภัยและงานประกันวินาศภัย ดูแลเอกสารในสำนักงานทั้งหมด ติดต่อประสานงานกับบริษัทประกันวินาศภัย ติดตามลูกค้าของทางบริษัท และยังมีหน้าที่ประมวลผลลูกค้าโดยใช้โปรแกรมประกันภัยของทางบริษัท (ประสบการณ์ด้านเลขานุการประมาณ 3 เดือน) ตั้งแต่ปี 2548 – 2550 ดเป็นอาจารย์ติวเตอร์ที่โรงเรียนพัฒนาการภาษาสากล (Text-And-Talk Academy) Tutor Center และ ABACUS ซึ่งรับสอนคณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษ ในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น รับผิดชอบการเตรียมข้อมูลและเนื้อหาการสอนทั้งหมด เป็นที่ปรึกษาในการปรับปรุงหลักสูตรติวเข้มเข้า ม.1 ของโรงเรียนพัฒนาการภาษาสากล รวมทั้งยังเป็นผู้ริเริ่มหลักสูตรการศึกษาสำหรับเด็กสมาธิสั้นและการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) สำหรับเด็กอีกด้วย (ประสบการณ์ด้านการสอนประมาณ 5 ปี)ปี 2550 – 2551 ดทำงานเป็นผู้ช่วยฝ่ายฝึกอบรมที่บริษัท อัจฉริยะสร้างได้ จำกัด และได้เป็นอาจารย์พิเศษสอนวิชาคณิตศาสตร์ระดับประถมปลาย รวมทั้งเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวนิษา ในด้านการเรียนการสอนได้นำความรู้ด้านพหุปัญญามาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับศักยภาพของนักเรียนแต่ละคน สอนการเขียน Mind Map ในเนื้อหาวิชาที่เรียน การประยุกต์ใช้ Mind Map ในชีวิตประจำวัน รูปแบบการเรียนที่สอดคล้องกับการทำงานของสมอง และการบูรณาการกิจกรรมเพื่อพัฒนาศักยภาพสมอง
ผลงาน ปี 2542 ได้รับรางวัลผู้มีมารยาทดีเด่นของระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และทำงานฝ่ายประชาสัมพันธ์ของโรงเรียนระยองวิทยาคม ทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์ข่าวสารของโรงเรียนผ่านสื่อสิ่งพิมพ์และการกระจายเสียงปี 2544 ทำงานในชมรมเห็ด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตำแหน่งฝ่ายประสานงานชมรม ทำหน้าที่จัดเตรียมเอกสารและสื่อการสอน ดิฉันได้รับเลือกให้เป็นวิทยากรบรรยายการเพาะเลี้ยงเห็ดให้แก่เกษตรกร นิสิต และนักศึกษาที่สนใจ รวมทั้งได้ออกค่ายเห็ดเฉลิมพระเกียรติที่ จ.อุตรดิตถ์ โดยบรรยายแก่เกษตรกรและนักเรียนด้านการเพาะเลี้ยงเห็ดชนิดต่างๆปี 2545 ในภาคเรียนต้นทำงานเป็นผู้ช่วยอาจารย์ (Teacher Assistant) ในวิชาบูรณาการวิชาสุขภาพเพื่อชีวิต (Health for Life) และได้รับทุนเรียนฟรีจากการที่ดิฉันสอบได้ 5A ในปี 2544 ในภาคเรียนปลายทำงานเป็นผู้ช่วยอาจารย์ในวิชาศิลปะการดำเนินชีวิต (Art of Living) ทำหน้าที่จัดเตรียมเอกสารการสอน ตรวจสอบการเข้าเรียนและการเข้าร่วมกิจกรรมของนิสิต และดูแลความเรียบร้อยในการประชุมของคณาจารย์ประจำรายวิชา ปี 2545-2546 ทำงานในชมรมเห็ด ตำแหน่งเลขานุการและเหรัญญิกชมรม รับผิดชอบงานเอกสารทั้งหมดในชมรม การประชุมของชมรม เป็นตัวแทนชมรมเข้าร่วมการประชุมขององค์การบริหารองค์กรนิสิตและการประชุมระดับมหาวิทยาลัย ติดต่อประสานงานกับกองกิจการนิสิตในการดำเนินกิจกรรมต่างๆของชมรม ประสานงานกับชมรมเห็ดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตกำแพงแสน เป็นแกนนำในการทำกิจกรรมออกค่ายเห็ดเฉลิมพระเกียรติที่จ.อ่างทอง เป็นแกนนำในการทำกิจกรรมค้นหาเห็ดในป่าธรรมชาติที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานและอุทยานแห่งชาติปางสีดา เป็นแกนนำในการจัดกิจกรรมเพื่อหารายได้เข้าชมรมในวันเกษตรแฟร์ เป็นวิทยากรบรรยายการเพาะเลี้ยงเห็ด ซึ่งจากการทำกิจกรรมตลอดปีและผลการเรียน ทำให้ได้รับรางวัลผู้มีความประพฤติดีและบำเพ็ญประโยชน์ต่อส่วนรวมจากคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ปัจจุบัน เป็นผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาด้านอัจฉริยภาพ (เพียงคนเดียวในไทย) ผู้ชนะล้านที่ 15 รายการ "อัจฉริยะข้ามคืน" ประธานกรรมการ บริษัท อัจฉริยะสร้างได้ จำกัด ผู้อำนวยการโรงเรียนวนิษา เป็นผู้นำเสนอแนวคิด - คนทั่วไปก็สร้างและฝึกฝนให้เป็นอัจฉริยะได้เช่นกัน - เขียนหนังสือ "อัจฉริยะสร้างได้"


วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2553

ใบงานครั้งที่ 8-9


ใบงานครั้งที่ 9

การจัดชั้นเรียน
การจัดบรรยากาศในชั้นเรียน

บรรยากาศในชั้นเรียนมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมความสนใจใคร่รู้ใคร่เรียนให้แก่ผู้เรียน ชั้นเรียนที่มีบรรยากาศเต็มไปด้วยความอบอุ่น ความเห็นอกเห็นใจ และความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกันและกัน ย่อมเป็นแรงจูงใจภายนอกที่กระตุ้นให้ผู้เรียนรักการเรียน รักการอยู่ร่วมกันในชั้นเรียน และช่วยปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ความประพฤติอันดีงามให้แก่นักเรียน นอกจากนี้การมีห้องเรียนที่มีบรรยากาศแจ่มใส สะอาด สว่าง กว้างขวางพอเหมาะ มีโต๊ะเก้าอี้ที่เป็นระเบียบเรียบร้อย มีมุมวิชาการส่งเสริมความรู้ มีการตกแต่งห้องให้สดใส ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ส่งผลทำให้ผู้เรียนพอใจมาโรงเรียน เข้าห้องเรียนและพร้อมที่จะมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน ดังนั้น ผู้เป็นครูจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมาย ความสำคัญ ประเภทของบรรยากาศ หลักการจัดบรรยากาศในชั้นเรียนและการจัดการเรียนรู้อย่างมีความสุข เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีลักษณะตามที่หลักสูตรได้กำหนดไว้

ความหมายของการจัดบรรยากาศในชั้นเรียน

การจัดบรรยากาศในชั้นเรียน หมายถึง การจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน เพื่อช่วยส่งเสริมให้กระบวนการเรียนการสอนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยสร้างความสนใจใฝ่รู้ ใฝ่ศึกษา ตลอดจนช่วยสร้างเสริมความมีระเบียบวินัยให้แก่ผู้เรียน

ความสำคัญของการจัดบรรยากาศในชั้นเรียน

จากการสำรวจเอกสารงานวิจัย (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน. 2531: ค) ได้ค้นพบว่าบรรยากาศในชั้นเรียนเป็นส่วนหนึ่งที่ส่งเสริมให้นักเรียนเกิดความสนใจในบทเรียนและเกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น การสร้างบรรยากาศที่อบอุ่น ที่ครูให้ความเอื้ออาทรต่อนักเรียน ที่นักเรียนกับนักเรียนมีความสัมพันธ์ฉันท์มิตรต่อกันที่มีระเบียบ มีความสะอาด เหล่านี้เป็นบรรยากาศที่นักเรียนต้องการ ทำให้นักเรียนมีความสุขที่ได้มาโรงเรียนและในการเรียนร่วมกับเพื่อนๆ ถ้าครูผู้สอนสามารถสร้างความรู้สึกนี้ให้เกิดขึ้นต่อนักเรียนได้ ก็นับว่าครูได้ทำหน้าที่ในการพัฒนาเยาวชนของประเทศชาติให้เติบโตขึ้นอย่างสมบรูณ์ทั้งทางด้านสติปัญญา ร่างกาย อารมณ์ และสังคม โดยแท้จริง ดังนั้น การสร้างบรรยากาศในชั้นเรียนจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งประมวลได้ดังนี้

1. ช่วยส่งเสริมให้การเรียนการสอนดำเนินไปอย่างราบรื่น เช่น ห้องเรียนที่ไม่คับแคบจรเกินไป ทำให้นักเรียนเกิดความคล่องตัวในการทำกิจกรรม

2. ช่วยสร้างเสริมลักษณะนิสัยที่ดีงามและความมีระเบียบวินัยให้แก่ผู้เรียน เช่น ห้องเรียนที่สะอาด ที่จัดโต๊ะเก้าอี้ไว้อย่างเป็นระเบียบ มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน นักเรียนจะซึมซับสิ่งเหล่านี้ไว้โดยไม่รู้ตัว

3. ช่วยส่งเสริมสุขภาพที่ดีให้แก่ผู้เรียน เช่น มีแสงสว่างที่เหมาะสม มีที่นั่งไม่ใกล้กระดานดำมากเกินไป มีขนาดโต๊ะและเก้าอี้ที่เหมาะสมกับวัย รูปร่างของนักเรียนนักศึกษา ฯลฯ

4. ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ และสร้างความสนใจในบทเรียนมากยิ่งขึ้น เช่น การจัดมุมวิชาการต่าง ๆ การจัดป้ายนิเทศ การตกแต่งห้องเรียนด้วยผลงานของนักเรียน

5. ช่วยส่งเสริมการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม เช่น การฝึกให้มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีต่อกัน การฝึกให้มีอัธยาศัยไมตรีในการอยู่ร่วมกัน ฯลฯ

6. ช่วยสร้างเจตคติที่ดีต่อการเรียนและการมาโรงเรียน เพราะในชั้นเรียนมีครูที่เข้าใจนักเรียน ให้ความเมตตาเอื้ออารีต่อนักเรียน และนักเรียนมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน

กล่าวโดยสรุปได้ว่า การจัดบรรยากาศในชั้นเรียนจะช่วยส่งเสริมและสร้างเสริมผู้เรียนใน

ด้านสติปัญญา ร่างกาย อารมณ์ และสังคมได้เป็นอย่างดี ทำให้นักเรียนเรียนด้วยความสุข รักการเรียน และเป็นคนใฝ่เรียนใฝ่รู้ในที่สุด





ประเภทของบรรยากาศในชั้นเรียนสุมน อมรวิวัฒน์ (2530 : 13) ได้สรุปผลการวิจัยเรื่องสภาพในปัจจุบันและปัญหาด้านการเรียนการสอนของครูประถมศึกษาไว้ สรุปได้ว่า บรรยากาศในชั้นเรียนต้องมีลักษณะทางกายภาพที่อำนวยความสะดวกต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สร้างความสนใจใฝ่รู้และศรัทธาต่อการเรียน นอกจากนี้ปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มนักเรียนและระหว่างครูกับนักเรียน ความรักและศรัทธาที่ครูและนักเรียนมีต่อกัน การเรียนที่รื่นรมย์ปราศจากความกลัวและวิตกกังวล สิ่งเหล่านี้จะช่วยสร้างบรรยากาศการเรียนได้ดี ดังนั้นจึงสามารถแบ่งประเภทของบรรยากาศในชั้นเรียนได้ 2 ประเภทคือ

1. บรรยากาศทางกายภาพ

2. บรรยากาศทางจิตวิทยา

บรรยากาศทั้ง 2 ประเภทนี้ มีส่วนส่งเสริมการเรียนรู้ทั้งสิ้นบรรยากาศทางกายภาพ (Physical Atmosphere)

บรรยากาศทางกายภาพหรือบรรยากาศทางด้านวัตถุ หมายถึง การจัดสภาพแวดล้อมต่าง ๆ

ภายในห้องเรียนให้เป็นระเบียบเรียบร้อย น่าดู มีความสะอาด มีเครื่องใช้ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ที่จะส่งเสริมให้การเรียนของนักเรียนสะดวกขึ้น เช่น ห้องเรียนมีขนาดเหมาะสม แสงเข้าถูกทาง และมีแสงสว่างเพียงพอ กระดานดำมีขนาดเหมาะสม โต๊ะเก้าอี้มีขนาดเหมาะสมกับวัยนักเรียน เป็นต้น บรรยากาศทางจิตวิทยา (Psychological Atmosphere)บรรยากาศทางจิตวิทยา หมายถึง บรรยากาศทางด้านจิตใจที่นักเรียนรู้สึกสบายใจ มีความอบอุ่น มีความเป็นกันเอง มีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน และมีความรักความศรัทธาต่อผู้สอน ตลอดจนมีอิสระในความกล้าแสดงออกอย่างมีระเบียบวินัยในชั้นเรียน
หลักการจัดชั้นเรียนเนื่องจากชั้นเรียนมีความสำคัญ เปรียบเสมือนบ้านที่สองของนักเรียน นักเรียนจะใช้เวลาอยู่ในชั้นเรียนประมาณวันละ 5-6 ชั่วโมง อิทธิพลของชั้นเรียนจึงมีมากพอที่จะปลูกผังลักษณะของเด็กให้เป็นแบบที่ต้องการได้ เช่น ให้เป็นตัวของตัวเอง ให้สามารถทำงานเป็นหมู่คณะได้ดี ให้ชอบแสวงหาความรู้อยู่เสมอ ให้มีความรับผิดชอบ ให้รู้จักคิดวิเคราะห์ ดังนั้นเพื่อให้นักเรียนมีคุณลักษณะนิสัยดังประสงค์ และมีความรู้สึกอบอุ่นสบายใจในการอยู่ในชั้นเรียนครูจึงควรคำนึงถึงหลักการจัดชั้นเรียน ดังต่อไปนี้

1. การจัดชั้นเรียนควรให้ยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสม ชั้นเรียนควรเป็นห้องใหญ่หรือกว้างเพื่อสะดวกในการโยกย้ายโต๊ะเก้าอี้ จัดเป็นรูปต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการเรียนการสอน ถ้าเป็นห้องเล็ก ๆ หลาย ๆ ห้องติดกัน ควรทำฝาเลื่อน เพื่อเหมาะแก่การทำให้ห้องกว้างขึ้น

2. ควรจัดชั้นเรียนเพื่อสร้างเสริมความรู้ทุกด้าน โดยจัดอุปกรณ์ในการทำกิจกรรมหรือหนังสืออ่านประกอบที่หน้าสนใจไว้ตามมุมห้อง เพื่อนักเรียนจะได้ค้นคว้าทำกิจกรรมควรติดอุปกรณ์รูปภาพและผลงานไว้ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้

3. ควรจัดชั้นเรียนให้มีสภาพแวดล้อมที่ดี ได้แก่ สภาพแวดล้อมทางกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม ซึ่งมีอิทธิผลต่อความเป็นอยู่และการเรียนของนักเรียนเป็นอันมาก ครูมีส่วนช่วยเสริมสร้างสภาพแวดล้อมให้ดีได้ เช่น ให้นักเรียนจัดหรือติดอุปกรณ์ให้มีสีสวยงาม จัดกระถางต้นไม้ประดับชั้นเรียน จัดที่ว่างของชั้นเรียนให้นักเรียนทำกิจกรรม คอยให้คำแนะนำในการอ่านหนังสือ ค้นคว้าแก้ปัญหา และครูควรสร้างบรรยากาศในชั้นเรียน ไม่ให้เครียด เป็นกันเองกับนักเรียน ให้นักเรียนรู้สึกมีความปลอดภัย สะดวกสบายเหมือนอยู่ที่บ้าน

4. ควรจัดชั้นเรียนเพื่อเสริมสร้างลักษณะนิสัยที่ดีงาม ชั้นเรียนจะน่าอยู่ก็ตรงที่นักเรียนรู้จักรักษาความสะอาด ตั้งแต่พื้นชั้นเรียน โต๊ะม้านั่ง ขอบประตูหน้าต่าง ขอบกระดานชอล์ก แปลงลบกระดาน ฝาผนังเพดาน ซอกมุมของห้อง ถังขยะต้องล้างทุกวัน เพื่อไม่ให้มีกลิ่นเหม็น และบริเวณที่ตั้งถังขยะจะต้องดูแลเป็นพิเศษ เพราะเป็นแหล่งบ่อเกิดเชื้อโรค

5. ควรจัดชั้นเรียนเพื่อสร้างความเป็นระเบียบ ทุกอย่างจัดให้เป็นระเบียบทั่งอุปกรณ์ของใช้ต่างๆ เช่นการจัดโต๊ะ ชั้นวางของและหนังสือ แม้แต่การใช้สิ่งของก็ให้นักเรียนได้รู้จักหยิบใช้ เก็บในที่เดิม จะให้นักเรียนเคยชินกับความเป็นระเบียบ

6. ควรจัดชั้นเรียนเพื่อสร้างเสริมประชาธิปไตย โดยครูอาจจัดดังนี้

6.1 จัดให้นักเรียนเข้ากลุ่มทำงาน โดยให้มีการหมุนเวียนกลุ่มกันไป เพื่อให้ได้ฝึกการทำงานร่วมกับผู้อื่น

6.2 จัดที่นั่งของนักเรียนให้สลับที่กันเสมอ เพื่อให้ทุกคนได้มีสิทธิที่จะนั่งในจุดต่างๆ ของห้องเรียน

6.3 จัดโอกาสให้นักเรียนได้หมุนเวียนกันเป็นผู้นำกลุ่ม เพื่อฝึกการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี

7. ควรจัดชั้นเรียนให้เอื้อต่อหลักสูตร หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานฉบับปัจจุบันเน้นการจัดการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และให้ใช้กระบวนการสอนต่างๆ ดังนั้นครูจึงควรจัดสภาพห้องให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ เช่น การจัดที่นั่งในรูปแบบต่างๆ อาจเป็นรูปตัวยู ตัวที หรือครึ่งวงกลม หรือจัดเป็นแถวตอนลึกให้เหมาะสมกับกิจกรรมการเรียนการสอนและการจัดบรรยากาศทางด้านจิตวิทยาให้ผู้เรียนรู้สึกกล้าถามกล้าตอบ กล้าแสดงความคิดเห็น เกิดความใคร่รู้ ใคร่เรียน ซึ่งจะเสริมให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาตน พัฒนาอาชีพ พัฒนาสังคม และเป็นคนเก่ง ดี มีความสุขได้ในที่สุด

จากที่กล่าวมาทั่งหมด สรุปได้ว่า หลักการจัดชั้นเรียน คือ การจัดบรรยากาศทางด้านกายภาพ และการจัดบรรยากาศทางด้านจิตวิทยาในชั้นเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ และเพื่อการพัฒนาผู้เรียนทั่งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพของประเทศชาติต่อไปลักษณะของชั้นเรียนที่ดี

เพื่อให้การจัดชั้นเรียนที่ถูกต้องตามหลักการ ผู้สอนควรได้ทราบถึงลักษณะของชั้นเรียนที่ดี สรุปได้ดังนี้

1. ชั้นเรียนที่ดีควรมีสีสันที่น่าดู สบายตา อากาศถ่ายเทได้ดี ถูกสุขลักษณะ

2. จัดโต๊ะเก้าอี้และสิ่งที่ที่อยู่ในชั้นเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน และกิจกรรมประเภทต่างๆ

3. ให้นักเรียนได้เรียนอย่างมีความสุข มีอิสรเสรีภาพ และมีวินัยในการดูแลตนเอง

4. ใช้ประโยชน์ชั้นเรียนให้คุ้มค่า ครูอาจดัดแปลงให้เป็นห้องประชุม ห้องฉายภาพยนตร์และอื่น ๆ

5. จัดเตรียมชั้นเรียนให้มีความพร้อมต่อการสอนในแต่ละครั้ง เช่น การทำงานกลุ่ม การสาธิตการแสดงบทบาทสมมุติ

6. สร้างบรรยากาศให้อบอุ่น ให้ความเป็นกันเองกับผู้เรียน

รูปแบบการจัดชั้นเรียน

การจัดชั้นเรียนจัดได้หลายรูปแบบ โดยจัดให้เหมาะสมกับบทเรียน กิจกรรมการเรียนการสอน จำนวนนักเรียน สภาพแวดล้อมในชั้นเรียน ขนาดของห้องเรียน เป็นต้น ครูควรได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบของการจัดโต๊ะ เก้าอี้ มุมวิชาการ และมุมต่าง ๆ ในห้องเรียน เพื่อสร้างบรรยากาศของห้องเรียนให้น่าสนใจไม่ซ้ำซากจำเจ ไม่น่าเบื่อหน่าย นักเรียนจะเกิดความกระตือรือร้นและกระฉับกระเฉงในการเรียนดีขึ้น การจัดชั้นเรียนถ้าแบ่งตามวิธีการสอนจะได้ 2 แบบ คือ

1. ชั้นเรียนแบบธรรมดา

2. ชั้นเรียนแบบนวัตกรรมสรุป

การจัดบรรยากาศในชั้นเรียน เป็นสิ่งสำคัญในการช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนและส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถรับผิดชอบควบคุมดุแลตนเอง ได้ในอนาคต การจัดบรรยากาศมีทั้งด้านกายภาพ เป็นการจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนทั้งการจัดตกแต่งในห้องเรียน จัดที่นั่ง จัดมุมเสริมความรู้ต่างๆ ให้สะดวกต่อการเรียนการสอน ทางด้านจิตวิทยา เป็นการสร้างความอบอุ่น ความสุขสบายใจให้กับผู้เรียน ผู้สอนควรจัดบรรยากาศทั้ง 2 ด้านนี้ให้เหมาะสม นอกจากนี้การสร้างบรรยากาศการเรียนรุ้ให้เกิดความสุขแก่ผู้เรียนเป็นองค์ประกอบสำคัญประการหนึ่งที่จะสร้างคุณลักษณะนิสัยของการใฝ่เรียนรู้ การมีนิสัยรักการเรียนรู้ การเป็นคนดี และการมีสุขภาพจิตที่ดี สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขทั่งในปัจจุบันและอนาคตต่อไป ซึ่งบุคคลสำคัญที่จะสร้างบรรยากาศการเรียนรู้อย่างมีความสุขให้เกิดขึ้นได้คือ ครูผู้นำทางแห่งการเรียนรู้นั่นเองให้ผู้เรียนสรุปรายงานจากกลุ่มที่ 9-10-11-12 ลงในบล็อกของผู้เรียนอย่างย่อ ๆ

กลุ่มที่ 9 เรื่อง การเขียนโครงการแลละการบริหารรการจัการโครงการเพื่อพัฒนานักเรียนและสถานศึกษา
ตอบ ลักษณะของโครงการที่ดีโครงการเป็นการจัดกิจกรรมที่เป็นระบบ เพื่อการปฏิบัติหน้าที่องค์การให้บรรลุถึงเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งโครงการที่ดีย่อมทำให้ประสิทธิภาพของการดำเนินงาน และผลตอบแทนที่องค์การหรือหน่วยงานจะได้รับอย่างคุ้มค่า อันจะนำมาซึ่งการพัฒนาของหน่วยงานนั้นๆ ซึ่ง ประชุม (2535) ได้สรุปลักษณะที่ดีของโครงการดังต่อไปนี้
1. สามารถตอบสนองความต้องการหรือแก้ปัญหาขององค์การหรือหน่วยงานได้
2. มีวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ชัดเจน สามารถดำเนินงานและปฏิบัติได้
3. รายละเอียดของโครงการต้องสอดคล้องและสัมพันธ์กัน กล่าวคือ วัตถุประสงค์ของโครงการต้องสอดคล้องกับหลักการและเหตุผล วิธีการดำเนินงานต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์เป็นต้น
4. รายละเอียดของโครงการสามารถเข้าใจได้ง่าย สะดวกต่อการดำเนินงานตามโครงการ
5. เป็นโครงการที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ สอดคล้องกับแผนงานหลักขององค์การและสามารถติดตามประเมินผลได้
6. โครงการต้องกำหนดขึ้นจากข้อมูลที่มีความเป็นจริง และเป็นข้อมูลที่ได้รับการวิเคราะห์อย่างรอบคอบ
7. โครงการต้องได้รับการสนับสนุนในด้านทรัพยากร และการบริหารอย่างเหมาะสม
8. โครงการต้องมีระยะเวลาในการดำเนินงาน กล่าวคือต้องระบุถึงวันเวลาที่เริ่มต้น และสิ้นสุดโครงการข้อสังเกต โครงการที่กำหนดขึ้นแม้เป็นโครงการที่มีลักษณะดีเพียงใด แต่ตัวโครงการก็ไม่อาจแก้ไขปัญหาต่างๆ ขององค์การ หน่วยงาน หรือ สังคมของชนกลุ่มใหญ่ ตามที่ได้เขียนไว้ในโครงการได้ทั้งหมด เพราะการดำเนินโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ในโครงการยังมีส่วนประกอบหรือปัจจัยอื่นๆ อีกมากมายที่อาจทำให้การดำเนินงานของโครงการบรรลุถึงเป้าหมายอย่างด้อยประสิทธิภาพ นอกจากนี้โครงการหนึ่งอาจเป็นโครงการที่ดีที่สุดในระยะหนึ่ง แต่อาจเป็นโครงการที่ใช้ประโยชน์ได้น้อยในอีกเวลาหนึ่งก็เป็นไปได้ผู้เขียนหรือกลุ่มผู้เขียนโครงการอาจจะเป็นคนละคนกับผู้ดำเนินงานตามโครงการหรืออาจจะเป็นคนๆ เดียวกันหรือกลุ่มๆเดียวกันก็ย่อมได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะปัจจัยหลายประการ เช่น ขนาดและชนิดขอโครงการลักษณะของโครงการและอื่นๆ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าโครงการจะมีขนาดเช่นใด ชนิดและประเภทใด ย่อมต้องมีรูปแบบ (Form) หรือโครงสร้าง (Structure) ในการเขียนที่เหมือนกันดังนี้
1. ชื่อโครงการ
2. หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
3. ผู้รับผิดชอบโครงการ
4. หลักการและเหตุผล
5. วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
6. วิธีดำเนินการ
7. แผนปฏิบัติงาน
8. ระยะเวลาในการดำเนินโครงการ
9. งบประมาณและทรัพยากรที่ต้องใช้
10. การติดตามและประเมินผลโครงการสรุปแล้วการเขียนโครงการแบบประเพณีนิยมจะต้องมีเนื้อหาสาระที่ละเอียดชัดเจนเฉพาะเจาะจง โดยรูปแบบของโครงการจะสามารถตอบคำถามดังต่อไปนี้ได้ คือ1. โครงการอะไร หมายถึง ชื่อโครงการ2. ทำไมต้องทำโครงการนั้น หมายถึง หลักการและเหตุผล3. ทำเพื่ออะไร หมายถึง วัตถุประสงค์4. ทำในปริมาณเท่าใด หมายถึง เป้าหมาย5. ทำอย่างไร หมายถึง วิธีดำเนินการ6. ทำเมื่อใดและนานแค่ไหน หมายถึง ระยะเวลาดำเนินการ7. ใช้ทรัพยากรอะไร เท่าใด และได้จากไหน หมายถึง งบประมาณและทรัพยากรอื่นๆ8. ใครทำ หมายถึง ผู้รับผิดชอบโครงการ9. ต้องทำกับใคร หมายถึง หน่วยงานหรือบุคคลที่ให้การสนับสนุน10. ทำได้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายหรือไม่ หมายถึง การประเมินผล11. เกิดอะไรขึ้นเมื่อสิ้นสุดโครงการ หมายถึง ผลที่คาดว่าจะได้รับ12. มีปัญหาอุปสรรคหรือไม่ หมายถึง ข้อเสนอแนะโครงการทุกโครงการ หากผู้เขียนโครงการสามารถตอบคำถามทุกคำถามดังกล่าวได้ ทั้งหมดอาจถือได้ว่าเป็นการเขียนโครงการที่มีความสมบูรณ์ในรูปแบบ และหากการตอบคำถามได้อย่างมีเหตุผลและมีหลักการ ย่อมถือได้ว่าโครงการที่เขียนขึ้นนั้นเป็นโครงการที่ดี นอกจากจะได้รับการพิจารณาอนุมัติโดยง่ายแล้ว ผลของการดำเนินงานมักจะมีประสิทธิภาพด้วยปัญหาในการเขียนโครงการในการเขียนโครงการนั้นเป็นการกำหนดกิจกรรมต่างๆ หรือกิจกรรมที่จะทำในอนาคตโดยอาศัยข้อมูลต่างๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบันเป็นตัวกำหนดกิจกรรมในโครงการ เมื่อเป็นเช่นนี้หากเป็นโครงการที่ดีย่อมนำมาซึ่งคุณภาพและประสิทธิภาพของหน่วยงาน

วันอังคารที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2553

ใบงานครั้งที่ 6


ให้นักศึกษาศึกษาวัฒนธรรมองค์กรจากเอกสารและในInternet แล้วแสดงความคิดเห็นในประเด็นดังนี้
1.ความหมายวัฒนธรรมองค์กร คืออะไร
ตอบ วัฒนธรรมองค์กร หมายถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่บุคคลในองค์กรหนึ่งปฏิบัติเหมือนๆ กันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะองค์กรนั้น เกิดจากการเชื่อมโยง ผสมผสานกันระหว่างเจตนคติของบุคคล ค่านิยม ความเชื่อ ปทัสถาน และการกระทำของบุคคล ของกลุ่ม ขององค์กร นโยบายและวัตถุประสงค์ขององค์กร เทคโนโลยี สสภาวะของกลุ่มความสำเร็จขององค์กร จนเป็นที่ยอมรับของบุคคลในองค์กร

2.ทำไมหากเราไปเป็นครูสอนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เราควรจะศึกษาอะไรบ้างที่จะทำให้อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
ตอบ การที่คนเราจะอยู่ในสถานที่ใด สังคมใด เราควรที่จะศึกษาวัฒนธรรมของสิ่งเหล่านั้นให้ดีและปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมนั้นๆให้ได้ โดยมีลักษณะดังนี้1.เราควรศึกษาวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของบุคคล ศาสนาที่ประชาชนในที่นั้นนับถือ2.เราควรศึกษาลักษณะอาชีพส่วนใหญ่ในพื้นที่3.เราควรศึกษาประเพณี วัฒนธรรมที่มีในพื้นที่
3.รูปแบบวัฒนธรรมการทำงานเป็นทีมเกิดขึ้นได้อย่างไร
ตอบ ในการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีมนี้ จะเน้นการถ่ายทอดประสบการณ์ภายในสถานที่ทำงาน ท่ามกลางบรรยากาศของการปฏิบัติหน้าที่ประจำตามปกติโดยมีวิธีการปฏิบัติที่สำคัญ 4 วิธี1. ใช้การเสวนา (Dialogue) ในการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นซึ่งกันและกัน โดยมีการปฏิบัติดังนี้- เริ่มต้นด้วยหัวข้อของการเสวนา ให้กลุ่มมีการเสวนาร่วมกันคิดพิจารณากันเอง โดยไม่มีการกำหนดข้อสมมติฐานหรือทางเลือกใด ๆ ไว้ล่วงหน้า- ในการเสวนาทุกครั้งให้เกิดประสิทธิภาพ สมาชิกแต่ละคนจะต้องมีความคิดและจิตใจที่เปิดกว้าง ยอมรับข้อคิดเห็นและเหตุผลของกันและกัน- ห้ามนำเอา “อัตตา” และตำแหน่งหน้าที่การงาน มาใช้ในการเสวนา เพราะจะทำให้เกิดเป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้ร่วมกัน 2. ใช้การอภิปราย (Discussion) มีการจัดเตรียมข้อสมมติฐานและทางเลือกต่าง ๆ ไว้ล่วงหน้าเพื่อนำมาอภิปรายร่วมกัน 3. ใช้เทคนิคของการบริหารงานเป็นทีม (Team Management) เป็นเรื่องของการใช้ความสามารถของหัวหน้าทีมในความเป็นผู้นำ (Leadership) และความเข้าใจในจิตวิทยาของการบริหารทีมงาน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้จากผลสำเร็จ หรือความผิดพลาดร่วมกัน 4. ใช้เทคนิคของการบริหารโครงการธุรกิจ (Business Project Management) โดยหลักการบริหารมีหัวหน้าและสมาชิกในโครงการมีจุดเริ่มต้นและกำหนดแล้วเสร็จที่ชัดเจนมีกิจกรรมพร้อมผู้รับผิดชอบตลอดจนมีกระบวนการของการบริหารอย่างเป็นระบบ เช่น- การประเมินงานโครงการ (Estimating)- การวางแผนงานโครงการ (Planning)- การกำหนดกิจกรรมและเวลา (Scheduling)- การปฏิบัติงานตามโครงการ (Implementation)- การติดตามผลความก้าวหน้า (Tracking & Control)- การปรับปรุงแก้ไข (Fine Tuning)- การส่งมอบโครงการ (Hand Over)โดยสมาชิกทุกคนในองค์การจะมีโอกาสได้รับความรู้ความเข้าใจ ในงานทุกขั้นตอนโดยเท่าเทียมกัน

4.การเรียนรู้เกิดขึ้นได้อย่างไร
ตอบ การเรียนรู้นับว่าเป็นกิจกรรมที่สำคัญของการจัดการความรู้ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งการเรียนรู้ในองค์การมีความแตกต่างจากการเรียนรู้ในระบบการศึกษาที่เป็นทางการ เป็นการเรียนรู้ของผู้ใหญ่และเรียนรู้จากสภาพแวดล้อมการทำงาน ซึ่งแนวคิดและหลักการของการเรียนรู้เกี่ยวกับองค์การที่สำคัญมีดังนี้1.แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ การเรียนรู้ ( learning ) หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างต่อเนื่องอันเนื่องมาจากการฝึกหัดหรือประสบการณ์ของแต่ละบุคคล ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ทั้งอย่างที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ2.หลักการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ทฤษฎีการเรียนการสอนของผู้ใหญ่ ตั้งอยู่บนพื้นฐานความเชื่อที่ว่าผู้ใหญ่แต่ละคนเป็นผู้ซึ่งมีวุฒิภาวะที่สมบูรณ์ ทฤษฎีดังกล่าวตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งความเชื่อ4ประการ คือ• มโนทัศน์ของผู้เรียน ( Concept of the Learner )• บทบาทของประสบการณ์ของผู้เรียน ( Roles of Learners Experience )• ความพร้อมที่จะเรียนรู้ ( Readiness to Learn )• การนำไปสู่การเรียนรู้ ( Orientation to Learning )
ประเภทของการเรียนรู้สามารถจำแนกประเภทของการเรียนรู้ออกได้เป็น 5 ประเภทใหญ่ๆ คือ1. การเรียนรู้โดยการจำ เป็นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนพยายามจะรวบรวมหรือเก็บเนื้อหาสาระจากสิ่งที่ต้องการจะเรียนให้ได้มากที่สุด2. การเรียนรู้โดยการเลียนแบบ เป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นโดนที่ผู้เรียนพยายามลอกเลียนแบบ หรือกระทำตามต้นแบบที่ตนเห็นว่าดีหรือเป็นประโยชน์แก่ตน3. การเรียนรู้โดยการหยั่งรู้ ขั้นตอนของการเรียนรู้ประเภทนี้จะเดขึ้น 3 ขั้นดังนี้• ผู้เรียนมองเห็นหรือมีปฏิกิริยาต่อส่วนรวมของสถานการณ์ทั้งหมดก่อน• ผู้เรียนแยกแยะส่วนรวมเพื่อพิจารณาความสัมพันธ์ของส่วนย่อยนั้นๆ• ผู้เรียนเกิดความเข้าใจสถานการณ์นั้นอย่างแจ่มแจ้งเรียกว่า เกิดการหยั่งรู้ ( insight )4. การเรียนรู้แบบลองผิดลองถูก เป็นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนพยายามใช้ทางเลือกหลายๆ ทางเพื่อแก้ปัญหาหรือสถานการณ์วิกฤติที่เกิดขึ้น5. การเรียนรู้โดยการสร้างมโนคติ การเรียนรู้โดยการสร้างความคิดรวบยอดนั้นเกิดจากการทีผู้เรียนมองเห็นลักษณะรวมของสิ่งนั้นก่อน




ใบงานครั้งที่ 5



ท่านจะนำประเด็นต่อไปนี้ไปใช้ในการเป็นครูที่ดีได้อย่างไร พร้อมยกตัวอย่างประกอบ

1.การอยู่ร่วมกันในหอพักนักศึกษา
ตอบ การอยู่ร่วมกัน จึงจะอยู่ร่วมกันได้อย่างเป็นสุข การรู้จักเอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ แบ่งปันแก่กัน ทำให้อยู่ร่วมกัน มีระดับเสมอกัน ทัดเทียมกัน ไม่แตกต่างกันมาก เผื่อแผ่ทรัพย์สินเงินทอง ให้ปันความรู้วิชา ให้ความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน มีน้ำใจต่อกัน การผูกมิตรไมตรีกันไว้เป็นสิ่งดี คอยตักเตือนเมื่อจะทำผิด หรือเมื่อมีภัยมา คอยสอบถามทุกข์สุขซึ่งกันและกัน การแสดงน้ำใจอันดีต่อกัน คนเราเมื่อเกิดความเห็นใจกันแล้ว ก็พร้อมที่จะให้อภัยเมื่อเกิดความผิดพลาดขึ้น เราก็อยู่กันด้วยดี ต้องมีความจริงใจต่อกัน ไม่ใช่ปากพูดอย่าง ใจคิดไปอีกอย่าง ต่างคนต่างระแวงกัน ต่างคนต่างระวังตัว เช่นนี้แล้วจะอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขได้อย่างไร ตัวอย่าง ตอนเข้ามาอยู่หอพักจะมีการประชุมและสร้างกฎระเบียบร่วมกันแล้วจะมีการรับน้อง เพื่อให้นักศึกษารู้จักกันและรู้จักความสามัคคี

2.การทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม
ตอบ การทำงานเป็นกลุ่ม คือ การร่วมกันทำงานของสมาชิกที่มากกว่า 1 คน โดยที่สมาชิกทุกคนนั้นจะต้องมีเป้าหมายเดียวกันจะทำอะไรแล้วทุกคนต้องยอมรับร่วมกัน มีการวางแผนการทำงานร่วมกัน การทำงานเป็นกลุ่ม มีความสำคัญ เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการบริหารงาน การทำงานเป็นกลุ่มมีบทบาทสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จของงานที่ต้องอาศัยความร่วมมือของกลุ่มสมาชิกเป็นอย่างดีตัวอย่าง การที่เราทำงานร่วมกันนั้นเรา เราไม่ควรยึดตัวเองเป็นหลัก เราควรจะลงความคิดเห็นร่วมกันและช่วยกันคิด ช่วยกันตรวจสอบงานที่จะส่งเพื่อให้มีการผิดพลาดน้อยที่สุด

3.หากเราทะเลาะกันจะนำหลักการมนุษยสัมพันธ์ไปใช้ได้อย่างไร
ตอบ มนุษย์สัมพันธ์เป็นทั้งศาสตร์ทั้งศิลปะในการ สร้างความสัมพันธ์อันดีบุคคล เพื่อให้ได้มาซึ่งความรักใคร่ นับถือ ความจงรักภักดี ความร่วมมือ นักสุขภาพจิตให้ความหมายของมนุษยสัมพันธ์ไว้ว่า “คือการอยู่ร่วมกับคนอื่นด้วยความสุข” แสดงออกทางพฤติกรรมระหว่างกันของบุคคลในทุกระดับของสังคม ซึ่งจะต้องใช้วิธีการที่แตกต่างกัน ดังนั้นมนุษยสัมพันธ์จึงเป็นศาสตร์ที่ต้องอาศัยวิทยาการหลายสาขาวิชามาบูรณาการกัน หลักการสร้างมนุษยสัมพันธ์ โดยทั่วไปแล้ว เราควรจะเริ่มต้นด้วยสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ เช่น1. จงเห็นคุณค่าและความมีศักดิ์ศรีของมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน2. จงมีทัศนคติที่ดีต่อมนุษย์ด้วยกันเห็นในความสำคัญของมนุษย์3. จงเริ่มต้นจากตัวเราก่อน4. จงเห็นคุณค่าและเหตุผลของผู้อื่น5. จงแสดงความสัมพันธ์กับผู้อื่นด้วยท่าทีที่เป็นมิตรสุภาพให้เกียรติต่อกัน6. พยายามหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง การโต้เถียงในสิ่งที่ไม่ใช่สาระหรือประเด็นสำคัญ7. มีความจริงและสุจริตใจกับผู้อื่นเสมอ ฯลฯ เทคนิควิธีมนุษยสัมพันธ์ในการสร้างมิตร การแสวงหาวิธีการ ที่จะทำให้คนเรามีมนุษยสัมพันธ์มีความเป็นมิตรเกื้อกูลเอื้ออาทรกันนั้น มีหลักการช่วยส่งเสริมอยู่มากมาย ตัวอย่าง หากเราทะเลาะกันจะนำหลักการมนุษยสัมพันธ์ไปใช้ได้คือเราต้องใช้เหตุผลในการพูดพยายามหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง การโต้เถียงในสิ่งที่ไม่ใช่สาระหรือประเด็นสำคัญและที่สำคัญไม่ควรใช้อารมณ์มาตัดสินควรมีสติอยู่ตลอด

4.แนวคิดเชิงบวกเป็นอย่างไร